วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555

เกมส์บิงโก อีกหนึ่งเกมส์ต่ออายุให้ยืน

          เกมส์บิงโก ซึ่งมีให้เห็นใน คาสิโน Casino asia และตามงานวัด ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก ถึงเงินที่สูญเสียไปหลายพันดอลลาร์กับเกมส์นี้ แต่ล่าสุดนักวิจัยทางการแพทย์ได้ออกมากล่าวว่า มันมีสิ่งที่ต่างกัน และดูเหมือนว่าสิ่งนั้นคือ การที่จะทำให้คนมีอายุยืนขึ้นกับเกมส์บิงโก ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพของมนุษย์เป็นอย่างมาก ทั้งเป็นการฝึกการใช้สมอง และการเล่นของเกมส์ชนิดที่เชื่อกันว่า มีส่วนทำให้กระบวนการที่ทำให้เกิดริ้วรอยชลอตัวเป็นอย่างดี
          การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดแสดงให้เห็นว่าได้ผลจริงๆ บิงโกเป็นยา Anti-Aging ที่ไม่เกินร้อยละ 65 ของหนึ่งร้อยคนที่สูงอายุได้มีส่วนร่วมในการวิจัย และผลการวิจัยนั้นทำให้วงการแพทย์และผู้สูงอายุตกตะลึงกับการเล่น บางครั้งการเล่นทำให้รู้สึกดี และได้ใช้ความคิด และเรื่องทางด้านอารมณ์ของผู้เล่น ดังนั้นข้อสรุปที่ได้มานั้น คนเล่นเกมส์บิงโก จะทำให้พวกเขารู้สึกดี และมีอายุที่ยืนขึ้นและยาวนานต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

พันธุกรรมบกพร่อง นำร่องพฤติกรรมกล้าได้กล้าเสีย

       งานศึกษาที่เปิดเผยถึงพื้นฐานทางประสาทวิทยาสำหรับพฤติกรรมกล้าได้กล้าเสีย ชี้สมองของคนที่กล้าเสี่ยงทุกอย่างในเกมพนันอาจถูกตั้งโปรแกรมต่างจากคนที่ ระมัดระวังโดยธรรมชาติ

       งานวิจัยชิ้นนี้พบว่าคนที่ถูกโน้มน้าวได้ง่ายในเกมพนันที่มีความเสี่ยงสูง คือคนที่สมองส่วนเล็กๆ แต่มีความสำคัญเสียหายอันเป็นผลจากความผิดปกติทางพันธุกรรม คนเหล่านี้จะมีการหลีกเลี่ยงโดยธรรมชาติต่อการสูญเสียสิ่งมีค่าซึ่งเป็น คุณสมบัติที่คนส่วนใหญ่มีมาตั้งแต่เกิดน้อยมาก

       การทดสอบผู้หญิงสุขภาพดีสองคนที่สมองส่วนอะมิกดาลา ซึ่งมีบทบาทในการปลุกเร้าความกังวลและความกลัว ถูกทำลาย พบว่าผู้หญิงทั้งคู่พร้อมเสียเงินจากพฤติกรรมกล้าเสี่ยงในเกมพนันมากกว่าคน สุขภาพดีที่สมองสมบูรณ์

       อะมิกดาลาเป็นแกนกลางของสมองที่มีรูปร่างเหมือนเม็ดอัลมอนด์ และบางครั้งถูกเรียกว่า ‘ศูนย์กลางแห่งความกลัว’ เนื่องจากมีบทบาทสำคัญในการควบคุมอารมณ์พื้นฐานของคนเรา อีกทั้งยังเป็นสมองส่วนที่มีมาตั้งแต่ก่อนวิวัฒนาการของส่วนไฮเออร์ คอร์เท็กซ์ที่ควบคุมอารมณ์ที่ซับซ้อนกว่า

       “สมองส่วนอะมิกดาลาที่ทำงานเต็มที่ทำให้เราระมัดระวังมากขึ้น เรารู้อยู่แล้วว่าสมองส่วนนี้เกี่ยวข้องกับการประมวลผลความกลัว และยังดูเหมือนว่าทำให้เรากลัวที่จะเสียเงิน” ศาสตราจารย์ราล์ฟ อะดอล์ฟส์ จากยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ ออฟ ลอนดอน กล่าว

       นักวิจัยได้ทำการทดสอบผู้หญิงอเมริกันสองคนๆ หนึ่งอายุ 43 ปีที่เลิกเรียนเมื่ออายุ 18 ปี และอีกคนอายุ 23 ปีและเข้ามหาวิทยาลัย เพื่อหาความโน้มเอียงต่อ ‘การหลีกเลี่ยงการสูญเสีย’ หรือความโน้มเอียงในการเสี่ยงที่จะเสียเงินจากเกมพนันที่ไม่ยั้งคิด

       นักวิจัยมอบเงินให้ผู้หญิงทั้งคู่ 50 ดอลลาร์ และชวนให้เล่นเกมเสี่ยงโชคที่มีโอกาสชนะ 50:50 โดยเสนอเดิมพัน อาทิ ถ้าชนะจะได้เงิน 5 ดอลลาร์ หรือแพ้จะเสียเงิน 20 ดอลลาร์ และชนะได้ 50 ดอลลาร์ แพ้เสีย 20 ดอลลาร์ สุดท้ายคือชนะได้ 20 ดอลลาร์ แพ้เสีย 15 ดอลลาร์

       หลักฐานในภาคสนามและในห้องวิจัยบ่งชี้ว่าคนส่วนใหญ่จะหลีกเลี่ยงความ เสี่ยงที่มีการสูญเสีย แม้มีโอกาสได้มากกว่า และอาสาสมัครสุขภาพดีในการทดลองแสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงโดยธรรมชาติมีอยู่ในคนส่วนใหญ่ เนื่องจากมนุษย์มีการวิวัฒนาการให้ระมัดระวังที่จะสูญเสียอาหารหรือสิ่งมี ค่าอื่นๆ

       แต่สำหรับกลุ่มตัวอย่างทั้งสองคนเสี่ยงในเดิมพันเกือบทุกรูปแบบที่กำหนดให้

       “มีการศึกษาการหลีกเลี่ยงการเสียเงินในเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมเป็นครั้ง คราว แต่นี่เป็นครั้งแรกที่พบว่าผู้ป่วยไม่มีพฤติกรรมดังกล่าวโดยสิ้นเชิง” เบเนเดตโต เดอ มาร์ติโน นักวิจัยของยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ ออฟ ลอนดอน ที่ตีพิมพ์ผลงานการวิจัยในโปรซีดดิ้งส์ ออฟ เดอะ เนชันแนล อะคาเดมี ออฟ ไซนส์ กล่าวและว่า

       “เป็นไปได้ที่อะมิกดาลาควบคุมกลไกทางชีววิทยาที่ปกติมากๆ เช่น การหลีกเลี่ยงการเสียเงินที่เป็นตัวกำหนดการตัดสินใจทางการเงินของเราในทุกๆ วัน”

        พฤติกรรมการหลีกเลี่ยงความสูญเสียถือเป็นปัจจัยทางชีวภาพที่สำคัญ เนื่องจากเป็นวิธีชั่งน้ำหนักตัวเลือกต่างๆ ในการตัดสินใจที่มีผลต่อชีวิตในช่วงวิวัฒนาการของมนุษย์ และยังมีส่วนในการตัดสินใจอื่นๆ ในสถานการณ์ปัจจุบัน